ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มารู้จักกับ ธาตุอาหารพืช กันค่ะ

ธาตุอาหารพืช
           ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ทั้งหมด 16 ธาตุ ซึ่งบางธาตุพืชต้องการใช้ในปริมาณที่มาก แต่บางธาตุพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย โดยทุกธาตุมีความสำคัญต่อพืชเท่าเทียมกัน ธาตุทั้ง 16 ธาตุนั้น คือ
ลำดับที่
ชื่อธาตุ
สัญลักษณ์
1
คาร์บอน
C
2
ไฮโดรเจน
H
3
ออกซิเจน
O
4
ไนโตรเจน
N
5
ฟอสฟอรัส
P
6
โปแตสเซี่ยม
K
7
แคลเซี่ยม
Ca
8
แมกนีเซี่ยม
Mg
9
กำมะถัน
S
10
เหล็ก
Fe
11
แมกกานีส
Mn
12
ทองแดง
Cu
13
สังกะส
Zn
14
โบรอน
B
15
โมดิบดีนั่ม
Mo
16
คลอรีน
Cl

แหล่งที่มาของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 16 ธาตุนั้น พืชจะได้รับมาจากแหล่งต่าง ๆ 3 แหล่ง คือ
           1. จากน้ำ โดยเหตุที่น้ำเป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน ดังนั้นเมื่อพืชดูดน้ำไปใช้ก็จะได้รับธาตุทั้งสองนี้ไปด้วย
           2. จากอากาศ เนื่องจากอากาศประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งก๊าซออซิเจน (O2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ด้วย ดังนั้นพืชจึงได้รับธาตุออกซิเจน และธาตุคาร์บอนจากอากาศโดยตรง ส่วนธาตุไนโตรเจนนั้นมีเฉพาะพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ที่สามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศได้ ทั้งนี้โดยอาศัยแบคทีเรียที่อยู่ในปมของรากถั่วเป็นผู้กระทำ
           3. จากดิน นอกจากธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน ซึ่งพืชจะได้ไปจากดิน โดยธาตุเหล่านี้จะอยู่ส่วนประกอบของแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุในดิน ซึ่งเมื่อเกิดการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพัง ธาตุเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ซึ่งพืชดูดน้ำไปใช้ได้
การจำแนกธาตุอาหารพืช
การจำแนกธาตุอาหารพืชที่ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเหตุที่พืชดูดดึงธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 16 ธาตุ นั้นไปใช้ในปริมาณที่มากหรือน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งธาตุที่พืชมีความต้องการในปริมาณที่มากที่สุดก็คือ ธาตุคาร์บอน (C)  ธาตุไฮโดรเจน (H)  และ ธาตุออกซิเจน (O) เพราะประมาณ 90 % ของโครงสร้างของพืชโดยทั่วไปประกอบด้วยธาตุทั้งสามนี้ ซึ่งพืชจะได้มาจากน้ำและอากาศอย่างพอเพียง ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุนั้น พืชจะได้จากดินซึ่งสามารถ จำแนกตามปริมาณ ความต้องการของพืชออกได้ 3 พวก คือ
          1. ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ธาตุ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซี่ยม (K) ซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่มาก โดยดินเป็นแหล่งที่มาของธาตุทั้งสามนี้ เพื่อให้พืชดูดนำไปใช้ แต่ปรากฏว่าดินมักจะมีให้ไม่พอเพียง กับความต้องการพืช พืชต้องการให้ธาตุทั้งสามนี้ เพิ่มแก่พืชในรูปของปุ๋ยอยู่เสมอ ดังนั้นในบางครั้งจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ธาตุปุ๋ย
          2. ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุแคลเซี่ยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (s) ซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการใช้ ในปริมาณที่มากรองจากธาตุอาหารหลัก ดินบางแห่งอาจจะมี ธาตุอาหารรอง นี้ไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช จึงจำเป็นต้อง มีการให้เพิ่มแก่พืชในรูปของปุ๋ย
          3. ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ ธาตุโบรอน (B) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) โมลิบดีนัม (Mo) ทองแดง (Cu) และ คลอรีน (Cl) ธาตุทั้ง 7 นี้ในดินโดยทั่วไปจะมีอยู่อย่างเพียงพอ กับความต้องการของพืช ทั้งนี้เพราะพืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ดินบางแห่ง ก็อาจจะขาดธาตุเหล่านี้ได้เช่นกัน เช่น ดินเนื้อหยาบที่มีอัตราการชะล้างสูงหรือดินกรดจัด ด่างจัด ซึ่งจะทำให้ธาตุเหล่านี้ ละลายออกมา อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในปริมาณที่น้อยกว่าปกติ
ความสำคัญของธาตุอาหารหลัก
1. ธาตุไนโตรเจน (N)
    1.1 หน้าที่ของธาตุไนโตรเจน มีดังนี้
           1.1.1 ช่วยกระตุ้นให้ พืชเจริญเติบโตและมีความแข็งแรง
           1.1.2 ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบและลำต้น
           1.1.3 ทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม
           1.1.4 ส่งเสริมคุณภาพของพืช โดยเฉพาะพืชผักสวนครัวที่ใช้ใบ ลำต้น และหัวเป็นอาหาร
           1.1.5 ส่งเสริมให้พืชตั้งตัวได้เร็ว ในระยะแรกของการเจริญเติบโต
           1.1.6 เพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืชที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ข้าว หรือหญ้าเลี้ยงสัตว์
           1.1.7 ควบคุมการออกดอกออกผลของพืช
           1.1.8 ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะพืชที่ให้ผลและเมล็ด
    1.2 อาการที่พืชขาดไนโตรเจน
           1.2.1 ใบพืชมีสีเหลืองซีด
           1.2.2 ลำต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโตตามปกติ
           1.2.3 ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพเลว
 1.3 อาการที่พืชได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป
           1.3.1 ลักษณะลำต้น ใบมีสีเขียวจัด
           1.3.2 มีอาการเผือใบ ความต้านโรคลดลง
           1.3.3 พืชแก่ช้ากว่าปกติ เพราะไนโตรเจนจะส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตอยู่เรื่อย ๆ
           1.3.4 ลำต้นหัก โค่น เปราะและล้มง่าย
2. ธาตุฟอสฟอรัส (P)
     2.1 หน้าที่ของธาตุฟอสฟอรัส มีดังนี้
            2.1.1 ช่วยในการแบ่งเซลของพืช และช่วยในการเปลี่ยนแปลงแป้งให้เป็นน้ำตาล
            2.1.2 ช่วยในการสร้างรากพืช โดยเฉพาะรากแขนงและรากฝอย
            2.1.3 ช่วยเร่งออกดอก ออกผลของพืช ทำให้พืชแก่เร็ว และช่วยสร้างเมล็ดพืช
            2.1.4 ช่วยเสริมสร้างคุณภาพของพืชพวกธัญพืชและพืชผัก
     2.2 อาการที่พืชขาดธาตุฟอสฟอรัส
            2.2.1 พืชจะแก่ช้ากว่าปกติ
            2.2.2 ดอกและผลไม่สมบูรณ์ เล็กผิดปกติ
3. ธาตุโปแตสเซี่ยม (K)
    3.1 หน้าที่ของธาตุโปแตสเซี่ยม มีดังนี้
           3.1.1 เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างคาร์โบไฮเดรต และช่วยส่งเสริมให้พืชดูดก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ได้ดีขึ้น
           3.1.2 ช่วยในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลภายในพืช
           3.1.3 ช่วยในการสร้างเนื้อไม้ส่วนที่เข็งของลำต้น
           3.1.4 ช่วยเสริมสร้างคุณภาพของผลไม้และพืชหัว
           3.1.5 ช่วยป้องกันผลเสียหายอันเนื่องจากพืชได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
    3.2 อาการที่พืชขาดธาตุโปแตสเซี่ยม
           3.2.1 ขอบใบจะเหลืองแล้วกลายเป็นน้ำตาล โดยเริ่มจากปลายใบเข้าสู่กลางใบและส่วนที่เป็นสีน้ำตาลก็จะแห้งเหี่ยวไป ซึ่งเห็นได้ชัดในพวกข้าวโพด
           3.2.1 พืชเจริญเติบโตช้า ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่ำ
           3.2.3 พืชหักล้มง่าย มีความต้านทานโรคน้อย

แบบฝึกหัด


          คำสั่ง จงทำเครื่องหมาย / ลงในช่องตัวเลือกธาตุอาหารพืชให้ถูกต้อง

ที่
รายการ
C
H
O
N
P
K
Ca
Mg
S
1
ธาตุอาหารหลัก ได้แก่









2
ธาตุอาหารรอง ได้แก่









3
พืชกินใบต้องการธาตุใดมาก









4
ไม้ดอกต้องธาตุใดมาก









5
ผักกาดหัวต้องการธาตุใดมาก









6
พืชผลที่ออกดอกตกผลช้าเกิดจากการขาดธาตุใด









7
พืชแสดงอาการเผื่อใบ ลำต้นและใบสีเขียวจัด หักล้มง่ายเกิดจากการได้รับธาตุใดมากเกินไป









8
พืชตระกูลถั่วที่ตายแล้วจะให้ธาตุอาหารใดแก่ดิน









9
การเก็บรักษาปุ๋ยคอกให้มีคุณภาพควรใส่ธาตุใดลงไป









10
ผลไม้จะมีรสชาดดีขึ้น ควรใส่ปุ๋ยธาตุใดเพิ่มเป็นพิเศษ









11
พืชแสดงอาการใบสีเหลืองซีด แคระแกรน เกิดจาก
การธาตุอาหารใด









12
ธาตุอาหารหลักที่สลายตัวไปเร็วที่สุดคือ









13
ปุ๋ยธาตุใดที่ควรจะใส่ใกล้บริเวณรากพืชมากที่สุด









14
ปุ๋ยธาตุใดที่ควรแบ่งใส่ครั้งน้อย แต่ใส่บ่อยครั้งจะดีกว่าการใส่ครั้งเดียว









15
ธาตุอาหารที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศอย่างพอเพียง
โดยไม่ต้องใส่ในรูปของปุ๋ย









2 ความคิดเห็น: